วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บทที่ 9 ปัญญาประดิษฐ์และระบบผู้เชี่ยวชาญ

สรุป บทที่ 9
ปัญญาประดิษฐ์ คือ ศาสตร์แขนงหนึ่งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีพื้นฐานมาจากวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ชีววิทยา จิตวิทยา ภาษาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ วิศวกรรมศาสตร์
ลักษณะของงานปัญญาประดิษฐ์ แยกออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
1. Cognitive Science งานด้านนี้เน้นศึกษาว่าสมองมนุษย์ทำงานอย่างไร มนุษย์คิดและเรียนรู้อย่างไรประกอบด้วยระบบต่างๆ ดังต่อไปนี้
- ระบบผู้เชี่ยวชาญ หรือ ระบบงานความรู้
- ระบบเครือข่ายนิวรอน ถูกออกแบบให้เลียนแบบการทำงานของสมองมนุษย์ ระบบนี้ในปัจจุบันถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการให้คำแนะนำเพื่อให้มนุษย์เป็นผู้ตัดสินใจในที่สุด
- ระบบแบ๊บเน็ต ระบบนี้พัฒนาขึ้นเพื่อลดค่าใช้จ่ายในด้านของนักเซลล์วิทยาลดลง วิธีนี้สะดวกในการตรวจสอบมะเร็งปากมดลูก เพราะทำให้นักเซลล์วิทยาสามารถใช้เวลากับแต่ละรายการ หรือตรวจได้มากขึ้น
- ระบบการเรียนรู้ เป็นระบบที่สามารถพัฒนาพฤติกรรมของระบบเองด้วย
2. Robotics เป็น งานที่พัฒนาบนพื้นฐานของวิศวกรรมศาสตร์ เป็นการพยายามสร้างหุ่นยนต์ให้มีความฉลาด ถูกควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ เคลื่อนไหวได้เหมือนมนุษย์ มีทักษะในด้านการมองเห็น, การสัมผัส,การหยิบจับสิ่งของ,การเคลื่อนไหว,การนำทางเพื่อไปยังที่หมาย
3. Natural Interface เป็น งานหลักที่สำคัญที่สุดของปัญญาประดิษฐ์ เน้นการพัฒนาเพื่อให้คอมพิวเตอร์ และเครื่องจักรกลสื่อสารกับมนุษย์ได้รู้เรื่อง ประกอบด้วยงานด้านต่างๆ ดังนี้
- ระบบที่มีความสามารถในการเข้าใจภาษามนุษย์
- ระบบภาพเสมือนจริง
ประโยชน์ของปัญญาประดิษฐ์
1. ข้อมูลของระบบจะถูกเก็บในลักษณะที่เป็นฐานข้อมูลขององค์การ พนักงานไปสืบหาคำตอบคำปรึกษาได้ทุกเวลา
2. ระบบช่วยเพิ่มความสามารถให้กับฐานความรู้ขององค์การด้วยการเสนอวิธีแก้ปัญหาสำหรับงานเฉพาะด้าน
3. ระบบถูกนำมาช่วยทำงานในส่วนที่เป็นงานประจำของมนุษย์
4. ระบบช่วยสร้างกลไกที่ไม่นำความรู้สึกของมนุษย์ เช่น ความลำเอียง,ความเบื่อหน่าย,ความกังวล มาเป็นองค์ประกอบในการตัดสินใจ
ระบบผู้เชี่ยวชาญ
เป็น ระบบที่ช่วยในการแก้ไขปัญหาโดยจะเกี่ยวกับการจัดการความรู้มากกว่าสารสนเทศ ทั่วไป ระบบนี้จัดเป็นงานทางด้านปัญญาประดิษฐ์ที่มีการปฏิบัติและติดตั้งใช้งานมาก ที่สุด ระบบจะมีการโต้ตอบกับผู้ใช้ ให้ข้อแนะนำช่วยเหลือ ระบบนี้เป็นการจำลองความรู้ของผู้เชี่ยวชาญมาไว้ในคอมพิวเตอร์
องค์ประกอบของระบบผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย2 องค์ประกอบหลักๆดังนี้
1. ฐานความรู้ ความรู้ในส่วนนี้จะรวมถึง ข้อเท็จจริงที่เป็นความรู้ทั้งหมด กฎของผู้เชี่ยวชาญที่ใช้ในการตัดสินใจ
2. โปรแกรมของระบบผู้เชี่ยวชาญ แบ่งเป็น 2 ส่วนที่สำคัญ คือ ส่วนที่ใช้ในการประมวลผลความรู้ และส่วนที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้
ประโยชน์ของระบบผู้เชี่ยวชาญ
1. ช่วยในการเก็บความรู้ของผู้เชี่ยวชาญด้านหนึ่งด้านใดโดยเฉพาะไว้ สามารถนำความรู้มาใช้เมื่อผู้เชี่ยวชาญออกจากองค์การไปแล้ว
2. ช่วยขยายขีดความสามารถในการตัดสินใจให้ผู้บริหารจำนวนมากพร้อมๆกัน
3. เพิ่มประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผลให้กับผู้ใช้ระบบในการตัดสินใจได้เป็นอย่างมาก
4. ช่วยในการตัดสินใจในแต่ละครั้งมีความใกล้เคียงไม่ขัดแย้งกัน
5. ระบบนี้ช่วยลดการพึ่งพาบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System)
กระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้กำหนดข้อมูล และสารสนเทศที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในแผนที่ GIS เป็นระบบข้อมูลข่าวสารที่เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ แต่สามารถแปลความหมายเชื่อมโยงกับสภาพภูมิศาสตร์อื่นๆ สภาพท้องที่ สภาพการทำงานของระบบสัมพันธ์ กับสัดส่วนระยะทางและพื้นที่จริงบนแผนที่ ข้อมูลที่เก็บในGIS ลักษณะเป็นข้อมูลเชิงพื้นที่ ที่แสดงในรูปของภาพ แผนที่ที่เชื่อมโยงกับข้อมูลเชิงบรรยาย หรือฐานข้อมูล
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ องค์ประกอบของระบบGIS จัดแบ่งออกเป็น 5ส่วนใหญ่ๆคือ
1. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
2. โปรแกรม เช่น โปรแกรม Arc/ Info , MapInfo
3. ข้อมูล ข้อมูลเชิงภาพ ข้อมูลเชิงอรรถธิบาย
4. บุคลากร
5. วิธีการหรือขั้นตอนการทำงาน
หน้าที่หลักของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ภาระหน้าที่หลักๆของระบบสารสนเทศมีด้วยกัน5อย่าง ได้แก่
1. การนำเข้าข้อมูล ข้อมูลที่ได้จะต้องได้รับการแปลงให้มาอยู่ในรูปแบบของข้อมูลเชิงตัวเลขเสียก่อน
2. การปรับแต่งข้อมูล
3. การบริหารข้อมูล ในระบบGIS ระบบจัดการฐานข้อมูลที่ได้รับการเชื่อถือและนิยมใช้กันอย่างกว้างขวางที่สุด คือ ระบบจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
4. การเรียกค้นและวิเคราะห์ข้อมูล
5. การนำเสนอข้อมูล
ประโยชน์ของระบบสารสนเทศเชิงภูมิศาสตร์
1. ลดการทำงานซ้ำซ้อน
2. แก้ปัญหาความล่าช้าของข้อมูล สามารถแก้ไขข้อมูลให้ทันสมัยอยู่เสมอ
3. หลีกเลี่ยงการขัดแย้งของข้อมูลได้ในระดับหนึ่ง
4. สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ ยังทำให้เกิดความเป็นอิสระของข้อมูล
5. สามารถควบคุมความเป็นมาตรฐานได้
6. สามารถจัดหาระบบความปลอดภัยได้
7. สามารถควบคุมความคงสภาพของข้อมูลได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น