วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3
ระบบย่อยของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
1. จงตอบคำถามข้อย่อยต่อไปนี้
1.1 อธิบายความหมายของระบบปฏิบัติการทางธุรกิจ (TPS)
ตอบ ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น เพื่อให้ทำงานเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานภายในองศ์การ โดยใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ เข้ามาเป็นอุปกรณ์หลักของระบบ โดยที่ TPS จะช่วยสนับสนุนให้การดำเนินงานในแต่ละวันขององศ์การเป็นไปอย่างเรียบร้อยและเป็นระบบ โดยเฉพาะปัจจุบันที่การดำเนินงานในแต่ละวันมักจะเกี่ยวข้องกับข้อมูลเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ใช้สามารถเรียกสารสนเทศมาอ้างอิงอย่างสะดวกและถูกต้องในอนาคต
1.2 หน้าที่หลักของ TPS มีอะไรบ้าง
ตอบ TPS มีหน้าที่หลัก 3 ประการดังต่อไปนี้
1. การทำบัญชี
2. การออกเอกสาร
3. การทำรายงานควบคุม
1.3 อธิบายส่วนประกอบของวงจรการทำงานของ TPS ว่าแตกต่างจากระบบจัดออกรายงานสำหรับการจัด MRS อย่างไร
ตอบ 1. การป้อนข้อมูล
2. การประมวลผล
3. การปรับปรุงข้อมูล
4. การผลิตรายการ
5. การให้บริการ

2. จงตอบคำถามข้อย่อยต่อไปนี้
2.1 อธิบายความหมายของระบบจัดทำรายงานเพื่อการจัดการ (MRS)
ตอบ MRS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกแบบและพัฒนาขึ้น เพื่อรวบรวมประมวลผล จัดระบบ และจัดทำรายงานหรือเอกสาร สำหรับช่วยในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร โดยที่ MRS จะจัดทำรายงานหรือเอกสาร และส่งต่อไปยังฝ่ายจัดการตามระยะเวลาที่กำหนด หรือตามความต้องการของผู้บริหารเนื่องจากรายงานที่ถูกจัดทำอย่างเป็นระบบจะช่วยให้บริหารงานมีประสิทธิภาพ
2.2 รายงานที่ออกโดยระบบ MRS มีกี่ประเภท และอะไรบ้าง จงอธิบายอย่างละเอียด
ตอบ MRS แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทดังต่อไปนี้
1. รายงานที่ออกตามตาราง (Schedule Report) เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นตามระยะเวลาที่กำหนดแน่นอน เช่น ประจำวัน ประจำสัปดาห์ หรือประจะเดือน เป็นต้น
2. รายงานที่ออกในกรณีพิเศษ (Exception Report) เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นเมื่อมีสิ่งผิดปกติหรือปัญหาเฉพาะหน้าเกิดขึ้น และทำการตัดสินใจแก้ไขและควบคุมผลประโยชน์ขององศ์การ เช่น รายชื่อลูกค้าที่ค้างชำระ เป็นต้น
3. รายงานที่ออกตามความต้องการ (Demand Report) เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นตามความต้องการของผู้บริหาร ซึ่งรายงานตามความต้องการจะแสดงข้อมูลเฉพาะเรื่องที่ผู้บริหารต้องการทราบ เพื่อให้ผู้บริหารเกิดความเข้าใจในปัญหาและสามารถตัดสินใจอย่างเหมาะสม
4. รายงานที่ออกเพื่อพยากรณ์ (Predictive Report) เป็นรายงานที่ใช้ข้อสารสนเทศช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร การพยากรณ์จะอาศัยเทคนิกการวิเคราะห์ทางสถิติและคณิตศาสตร์ หรือที่เรียกว่า การวิจัยขั้นดำเนินงาน
2.3 สิ่งที่ควรมีในรายงานที่ออกโดยระบบ MRS มีอะไรบ้าง
ตอบ 1. การวางแผน
2. การตรวจตอบ
3. การควบคุมการจัดการ
2.4 คุณสมบัติที่ดีของระบบ MRS มีอะไรบ้าง จงอธิบายอย่างละเอียด
ตอบ 1. ตรงประเด็น (Relevance) รายงานที่ออกควรที่จะบรรลุด้วยสารสนเทศที่เป็นที่ต้องการหรือเป็นประโยชน์ต่อเรื่องที่ผู้บริหารกำลังทำการตัดสินใจอยู่
2. ความถูกต้อง (Accuracy) รายงานที่ออกควาบรรลุด้วยสารสนเทศที่ถูกต้อง ไม่มีข้อผิดพลาด และเป็นที่เชื่อถือได้ของผู้บริหาร
3. ถูกเวลา (Timeliness) รายงานที่ออกควรจะบรรลุสารสนเทศที่ทันสมัยและทันเวลาเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจที่กำลังกระทำอยู่ในขณะนั้น
4. สามารถพิสูจน์ได้ (Verifiability) รายงานที่ออกควรบรรลุสารสนเทศที่สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาว่า เป็นข้อมูลจากแหล่งใด และมีความน่าเชื่อถือเพียงใด

3. จงอธิบายความหมายของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DEE)
ตอบ ระบบสารสนเทศที่จัดหาหรือจัดเตรียมข้อมูลสำคัญสำหรับผู้บริหาร เพื่อจะช่วยในการตัดสินใจแก้ปัญหาหรือเลือกโอกาสที่เกิดขึ้น ปกติปัญหาของผู้บริหารจะมีลักษณะที่เป็นกึ่งโครงสร้าง และไม่มีโครงสร้างซึ่งยากต่อการวางแนวทางรองรับหรือแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

4. จงตอบคำถามข้อย่อยต่อไปนี้
4.1 อธิบายความหมายของระบบสารสนเทศสำนักงาน (OIS)
ตอบ ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น เพื่อช่วยให้การทำงานในสำนักงานมีประสิทธิภาพ โดย OIS จะประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีเครื่องใช้สำนักงานที่ถูกออกแบบให้ปฏิบัติงานร่วมกัน เพื่อให้การปฏิบัติงานในสำนักงานเกิดผลสูงสุด
4.2 อธิบายหน้าที่ของระบบจัดการเอกสารในระบบสารสนเทศสำนักงาน พร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ ระบบจัดการเอกสาร (Document Management System) ถูกพัฒนาขึ้นให้มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับการจัดทำ กระจาย และเก็บรักษาเอกสารต่างๆ ภายในองศ์การ โดยระบบจัดการเอกสารจะประกอบไปด้วยเครื่องมือสำคัญดังต่อไปนี้
- การประมวลคำ
- การผลิตเอกสารหลายชุด
- การออกแบบเอกสาร
- การประมงลรูปภาพ
- การเก็บรกษา
4.3 อธิบายหน้าที่ของระบบควบคุมข่าวสารในระบบสารสนเทศสำนักงาน พร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ ระบบควบคุมและส่งผ่านข่าวสาร (Message-Handling System) เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อควบคุมการกระจายและการใช้งานข่าวสารในสำนักงาน โดยการจักการข้อมูลให้เป็นระบบ ซึ่งประกอบด้วยรูปแบบในการส่งผ่านข่าวสารที่สำคัญดังต่อไปนี้
- โทรสาร
- ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
- ไปรษณีย์เสียง
4.4 อธิบายหน้าที่ของระบบการประชุมทางไกลในระบบสารสนเทศในสำนักงาน พร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ ระบบประชุมทางไกล (Teleconferencing) เป็นระบบเชื่อมโยงบุคคลตั้งแต่ 2 คน ซื่งอยู่กันคนละที่ ให้สามารถประชุมหรือโต้ตอบกันได้ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปอยู่ในสถานที่เดียวกัน ระบบประมทางไกลแบ่งออกเป็น 5 ประเภทดัง่อไปนี้
- การประชุมทางไกลที่ใช้ทั้งภาพและเสียง
- การประชุมทางไกลใช้เฉพาะเสียง
- การประชุมโดยใช้คอมพิวเตอร์
- โทรทัศน์ภายใน
- การปฏิบัติงานผ่านระบบสื่อสารทางไกล
4.5 อธิบายหน้าที่ของระบบสนับสนุนการทำงานสำนักงานในระบบสารสนเทศสำนักงาน พร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ ระสนับสนุนการดำเนินงานในสำนักงาน (Office Support System) เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อช่วยให้พนักงานในสำนักงานเดียวกันใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ในสำนักงานให้เกิดประโยชน์ในการทำงานร่วมกันอย่างเต็มที่ ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการลงทุน และช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยที่เราสามารถแบ่งระบบสนับสนุนการดำเนินงานในสำนักงานออกได้เป็นหลายระบบดังต่อไปนี้
- ชุดคำสั่งสำหรับกลุ่ม
- ระบบจัดระเบียบงาน
- คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ
- การนำเสนอประกอบภาพ
- กระดานข่าวสารในสำนักงาน

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 2

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 2
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
1. นิยามความหมายและยกตัวอย่างของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

ตอบ ระบบสารสนเทศเพื่อการจักการ หมายถึง ระบบที่รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งต่างๆทั้งภายในและภายนอกองค์การอย่างมีหลักเกนฑ์ เพื่อนำมาประมวลผลให้ได้สารสนเทศที่ช่วยสนับสุนการทำงานและการตัดสินใจของผู้บริหารในด้านต่างๆ เพื่อให้การดำเนินงานขององค์การเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่เราจะเห็นว่า MIS จะประกอบไปด้วยหน้าที่หลัก 2 ประการดังต่อไปนี้
1. เครื่องมือในการสร้าง MIS เป็นส่วนประกอบ หรือโครงสร้างพื้นฐานที่รวมกันเข้าเป็นระบบสารสนเทศ และช่วยให้ระบบสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. วิธิการประมวลเป็นลำดับชั้นในการประมวลผลข้อมูล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ผู้ใช้ต้องการ
3. การแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากระบบสารสนเทศมักเป็นรูปแบบรายงานต่างๆ ซื่งสามารถเรียกมาแสดงได้อย่างรวดเร็ว

2. ข้อมูลและสารสนเทศมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ ข้อมูล หมายถึง ข้อมูลดิบที่ถูกรวบรวมจากแหล่งต่างๆ ทั้งภายในภายนอกองค์การโดยข้อมูลดิบจะยังไม่มีความหมายในการนำไปใช้ประโยชน์หรือตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ขณะที่สารสนเทศ หมายถึง ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลข้อมูลดิบที่ถูกจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบโดยผลลัพธ์ที่ได้สามารถนำไปประกอบการทำงาน โดยเฉพาะการตัดสินใจแก้ปัญหาหรือเลือกโอกาสทางธุรกิจ

3. สารสนเทศที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร
ตอบ 1. ถูกต้อง
2. ทันเวลา
3. สอดคล้องกับงาน
4. สามารถตรวจสอบได้

4. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมีประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจอย่างไร
ตอบ 1. ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์
2. ช่วยผู้ใช้ในการกำหนดเป้าหมายกลยุทธ์และการวางแผนปฏิบัติการ
3. ช่วยผู้ใช้ในการตรวจสอบผลการดำเนินงาน
4. ช่วยผู้ใช้ในการศึกษาและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
5. ช่วยให้ผู้ใช้สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้น
6. ช่วยลดค่าใช้จ่าย
5. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการที่มีประสิทธิภาพต้องประกอบด้วยคุณสมบัติอะไรบ้าง
ตอบ 1. ความสามารถในการจัดการข้อมูล
2. ความปลอดภัยของข้อมูล
3. ความยืดหยุ่น
4. ความพอใจของผู้ใช้

6. บุคคลที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมีกี่ระดับ อะไรบ้าง
ตอบ มี 3 ระดับดังต่อไปนี้
1. หัวหน้างานระดับต้น
2. ผู้จัดการระดับกลาง
3. ผู้ปริหารระดับสูง

7. จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการใช้งานระบบสารสนเทศและระดับของผู้บริหารในองค์การ
ตอบ MIS จะช่วยผู้บริหารในการเข้าถึงข้อมูล เพื่อนำมาประกอบการวางแผนตรวจสอบการการดำเนินงาน โดยระบบสารสนเทศช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาสาเหตุและทำการแก้ปัญหาถ้าเกิดสิ่งผิดปกติขึ้นในการดำเนินงาน กิจกรรมของระบบสารสนเทศที่กล่าวมาจะส่งผลให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างมี่ประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในสภาวะทางธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงเช่นในปัจจุบัน นอกจากนี้ระบบสารสนเทศที่ดีควรมีความยืดหยุ่น เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนการทำงานให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ได้ตลอดเวลา

8. ผู้บริหารสมควรมีบทบาทต่อการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การอย่างไร
ตอบ 1. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสร้างประสิทธิภาพ และความพร้อมในการแข่งขันให้กับองค์การ
2. เข้าใจความต้องการของระบบและองค์การในสภาพแวดล้อมยุคโลกาภิวัตน์
3. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพในการดำเนินงานทั่วทั้งองค์การ
4. มีส่วนร่วมในการออกแบบและการพัฒนาโครงสร้างระบบสารสนเทศรวมขององค์การ
5. บริหารและตัดสินใจในการสรรหาและคัดเลือกเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารโทรคมนาคม
6. จัดการและควบคุมผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อผู้เกี่ยวข้อง เช่น บุคลากรลูกค้า ผู้ขายวัตถุดิบ และต่อองค์การ
7. ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการทำงานแก่ผู้ใช้อื่น
8. เข้าใจประเด็นสำคัญด้านจริยธรรมที่เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

9. โครงสร้างของหน่วยงานสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ส่วน อะไรบ้าง
ตอบ 3 ส่วนดังต่อไปนี้
1. หน่วยวิเคราะห์และออกแบบระบบ
2. หน่วยเขียนชุดคำสั่ง
3. หน่วยปฎิบัติการและบริการ

10. บุคลากรของหน่วยงานสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ 7 ประเภท ดังนี้
1. หัวหน้าพนักงานสารสนเทศ
2. นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ
3. ผู้เขียนชุดคำสั่ง
4. ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์
5. ผู้จัดตารางเวลา
6. พนักงานจัดเก็บและรักษา
7. พนักงานจัดเตรียมข้อมูล

11. เพราะเหตุใดผู้ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศจะต้องตระหนักและให้ความสำคัญกับจริยธรรมและจรรยาบรรณ
ตอบ เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเราเรียกว่า IT ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม อีกทั้ง IT มีอิทธิพลอย่างมากในเรื่องการกระจายอำนาจ ทรัพย์สิน สิทธ์ และความรับผิดชอบ ดังนั้นจริยธรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญของผู้ที่ทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่จะต้องตระหนักและให้ความสำคัญ

12. จงอธิบายตัวอย่างผลกระทบทางบวกและทางลบของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ตอบ ปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางกลายเป็นยุคแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศหรือยุคข้อมูลข่าวสาร และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ชาติอย่างมหาศาลนั้น หมายถึง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงอะไรก็ตามย่อมมีผลกระทบต่อบุคคล องค์การ

แบบฝึกหัดท้ายบทที่1

แบบฝึกหัดท้ายบทที่1
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
1. จงอธิบายความหมายและส่วนประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตอบ เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่ประกอบขึ้นด้วยระบบจัดเก็บและประมวลข้อมูลระบบสื่อสารโทรคมนาคม และอุปกรณ์สนับสนุนการปฏิบัติงานด้านสารสนเทศที่มีการวางแผนจักการและใช้งานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ เราสามารถกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศต้องมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการดังต่อไปนี้
1) ระบบประมวลผล
2) ระบบสื่อสารโทรคมนาคม
3) การจัดการข้อมูล
2. เหตุใดการจักการข้อมูลจึงเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตอบ การจัดการข้อมูล จะให้ความสำคัญกับส่วนประกอบที่ 3 ซึ่งมีความเป็นศิลปะในการจัดการรูปแบบและการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
3. หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) มีหน้าที่อะไร และสามารถเปรียบเทียบอวัยวะส่วนของมนุษย์
ตอบ CPU จะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานและการประมวลผลของระบบคอมพิวเตอร์ โดยที่เราสามารถเปรียบเทียบ CPU กับ สมองของมนุษย์ที่มีหน้าที่หลัก 2 ประการ คือ
1) ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
2) คำนวณและเปรียบเทียบข้อมูล
4. เราสามารถจำแนกคอมพิวเตอร์ออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้างๆ
ตอบ 4 ประเภทดังต่อไปนี้
1) ซูเปอร์คอมพิวเตอร์
2) เมนเฟรมคอมพิวเตอร์
3) มินิคอมพิวเตอร์
4) ไมโครคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
5. เหตุใดจึงมีผู้กล่าวว่า คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องจักรกลที่เปลี่ยนแปลงโลก และท่านเห็นด้วยกับความคิดนี้หรือไม่ เพราะเหตุใด ตอบ เห็นด้วยเพราะ คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องที่ทำให้มนุษย์โลกได้นำไปใช้ในการทำงานและมีประโยชน์หลายๆ ด้าน
6. ชุดคำสั่งและภาษาคอมพิวเตอร์ คืออะไร และมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
ตอบ ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ คือ ชุดคำสั่งที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสาร และ สั่งงานคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ภาษาคอมพิวเตอร์ เป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารระหว่าง ผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างสะดวกราบรื่น โดยชุดคำสั่งสำหรับใช้งานและควบคุมระบบคอมพิวเตอร์จะถูกเขียนขึ้นจากภาษาคอมพิวเตอร์
7. ภาษายุคที่ 4 หรือ 4 GL เป็นอย่างไร และมีความแตกต่างจากภาษาคอมพิวเตอร์ในอดีตอย่างไร
ตอบ ภาษาในยุคที่ 4 จะเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาให้ง่านต่อการเรียนรู้และการนำไปใช้งาน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เขียนชุดคำสั่งและผู้ใช้ที่มีความจำกัดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
8. จงยกตัวอย่างและอธิบายรายละเอียดของฌทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่เป็นประโยชน์ต่องานสารสนเทศขององค์กร
ตอบ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม ระบบสารสนเทศที่ดีต้องประยุกต์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และผู้ใช้ที่อยู่ห่างกัน

บทที่ 3 ระบบย่อยของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

บทที่ 3 ระบบย่อยของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
บทที่ 3
ระบบย่อยของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

ระบบย่อยของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
เราสามารถกล่าวได้ว่าหน้าที่หลักของ MIS คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากทั้งภายใน และภายนอกองค์การมาไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อทำการประมวลผลและจัดรูปแบบข้อมูลให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสม และจัดพิมพ์เป็นรายงานส่งต่อให้ผู้ใช้ เพื่อช่วยให้การตัดสินใจและบริหารงานของเขาให้มีประสิทธิภาพ 1. ระบบปฏิบัติการทางธุรกิจ (Transaction Processing System) หรือที่เรียกว่า TPS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นเพื่อให้ทำงานเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานภายในองค์การ 2. ระบบจัดทำรายงานสำหรับการจัดการ (Management Reporting System) หรือที่เรียกว่า MRS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น เพื่อรวบรวม ประมวลผล 3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Supporting System) หรือที่เรียกว่า DSS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่จัดหารหรือจัดเตรียมข้อมูลสำคัญสำหรับผู้บริหาร 4. ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information System) หรือที่เรียกว่า OIS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น เพื่อช่วยให้การทำงานในสำนักงานมีประสิทธิภาพโดย OIS
ความต้องการใช้งานสารสนเทศที่หลากหลายในองค์การ ทำให้ระบบย่อยของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการแตะละประเภทจะมีวัตถุประสงค์ ส่วนประกอบ และการใช้งานที่แตกต่างกัน นอกจากนี้แต่ละระบบยังทวีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจมากขึ้นเรื่อยๆ ระบบปฏิบัติการทางธุรกิจ หรือที่เรียกว่า TPS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น โดยใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นอุปกรณ์หลักของระบบ เพื่อให้ทำงานเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานภายองค์การมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ระบบจัดทำรายงานเพื่อการจัดการ
ผู้จัดการเป็นบุคคลสำคัญของแต่ละหน่วยงาน เนื่องจากผู้จัดการจะมีหน้าที่ในการวางแผนจัดระบบงาน และควบคุมให้งานบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ โดยผู้จัดการต้องตัดสินใจในปัญหา หรือทางเลือกในการดำเนินงานของหน่วยงาน แต่ผู้จัดการส่วนใหญ่จะมีเวลาจำกัดในการตัดสินใจ ระบบจัดทำรายงานเพื่อการจัดการหรือ MRS เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อรวบรวมและประมวลผลข้อมูล สำหรับจัดทำเป็นรายงานเสนอต่อผู้จัดการ เพื่อช่วยให้เขาสามารถตัดสินใจในปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
ประเภทของรายงาน
รายงาน (Report) เป็นเอกสารที่จัดทำขึ้นโดยรวบรวมข้อมูลสำคัญในแต่ละเรื่อง เพื่อใช้ประกอบการปฏิบัติงานของผู้ใช้หรือการตัดสินใจของผู้บริหาร ปกติผู้จัดการต้องการรายงานในเรื่องต่าง ๆ เช่น ยอดขาย สินค้ารับคืน หรือต้นทุนการดำเนินงาน เป็นต้น เพื่อใช้ประกอบการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพ โดยที่เราสามารถแบ่งรายงานที่ผลิตโดย MRS ออกได้เป็น 4 ประเภท รายงานเป็นรูปแบบสำคัญในการจดบันทึก ส่งผ่าน และอ้างอิงข้อมูลภายในขององค์การ ในอดีตการจัดทำรายงานจะใช้ระยะเวลาและแรงงานมาก แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้การจัดทำรายงานมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผู้บริหารสามารถใช้เวลาและข้อมูลให้เกิดประโยชน์ ในการทำงานอย่างเต็มที
คุณสมบัติของสารสนเทศในระบบจัดทำรายงาน
ผู้จัดการส่วนมากจะมีงานที่หลากหลาย แต่มักจะมีเวลาที่จำกัดในการแก้ปัญหา จึงมีความต้องการสารสนเทศที่ชัดเจน เข้าใจง่าย และสะดวกต่อการใช้งาน ดังนั้นรายงานที่ออกโดยระบบจัดทำรายงานสำควรจะบรรจุไปด้วยสารสนเทศที่มีคุณภาพ และเป็นที่ต้องการของผู้จัดการหรือผู้ใช้ ซึ่งสารสนเทศที่มีคุณภาพควรจะประกอบไปด้วยคุณสมบัติ ต่อไปนี้ 1. ตรงประเด็น (Relevance) ประโยชน์ต่อเรื่องที่ผู้บริหารกำลังทำการตัดสินใจอยู่ 2. ความถูกต้อง (Accuracy)
3. ถูกเวลา (Timeliness)
4. สามารถพิสูจน์ได้ (Verifiability)
ประเภทของงานสำนักงาน
1. การตัดสินใจ (Decision Making)
2. การจัดการเอกสาร (Document Handling)
3. การเก็บรักษา (Storage)
4. การจัดเตรียมข้อมูล (Data Manipulation)
5. การติดต่อสื่อสาร (Communication)

บทที่ 2 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

บทที่ 2 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
บทที่ 2
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

ข้อมูล (Data) หมายถึงค่าความจริง ซึ่งแสดงถึงความเป็นจริงที่ปรากฏขึ้น เช่น ชื่อพนักงานและจำนวนชั่วโมงการทำงานในหนึ่งสัปดาห์, จำนวนสินค้าที่อยู่ในคลังสินค้า เป็นต้น ข้อมูลมีหลายประเภท เช่น ข้อมูลตัวเลข ข้อมูล ตัวอักษร ข้อมูลรูปภาพ ข้อมูลเสียงและข้อมูลภาพเคลื่อนไหว ซึ่งข้อมูลชนิดต่างๆ เหล่านี้ใช้ในการนำเสนอค่าความจริงต่างๆ โดยค่าความจริงที่ถูกนำมาจัดการและปรับแต่งเพื่อให้มีความหมายแล้ว จะเปลี่ยนเป็นสารสนเทศ สารสนเทศ (Information) หมายถึงกลุ่มข้อมูลที่ถูกจัดการตามกฎหรือ ถูกกำหนดความสัมพันธ์ให้ เพื่อให้ข้อมูลเหล่านั้นเกิดประโยชน์หรือมีความหมายเพิ่มมากขึ้น ประเภทของสารสนเทศขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลที่มีอยู่ ตัวอย่างเช่น จำนวนยอดขายของตัวแทนจำหน่ายแต่ละคนในเดือนมกราคมจัดเป็นข้อมูล เมื่อนำมาประมวลผลรวมกันทำให้ได้ยอดขายรายเดือนของเดือนมกราคม ทำให้ผู้บริหารสามารถนำยอดขายรายเดือนมาพิจารณาว่ายอดขายเป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กรหรือไม่ได้ง่ายขึ้น ยอดขายรายเดือนนี้จึงจัดเป็นสารสนเทศ หรือตัวอย่าง เช่น ตัวเลข 1.1, 1.5, และ 1.6 จัดเป็นข้อมูลตัวเลข เนื่องจากเป็นค่าความจริงซึ่งยังไม่สามารถแปลความหมายใดๆ ได้แต่ข้อมูลเหล่านี้จัดเป็นสารสนเทศเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่บ่งบอกความหมายของข้อมูลได้มากขึ้น เช่น เมื่อกล่าวว่า ตัวเลขเหล่านี้คือยอดขายประจำเดือนมกราคม กุมภาพันธ์และมีนาคม โดยมีหน่วยเป็นหลักล้าน จะทำให้ตัวเลขทั้ง 3 มี ความหมายเกิดขึ้น หรืออาจกล่าวได้ว่ายอดขายเฉลี่ยระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคมมีค่าเท่ากับ 1.4 ล้าน จัดเป็น สารสนเทศที่เกิดขึ้นจากข้อมูลตัวเลขทั้ง
การจัดการ (Management) หมายถึงการบริหารอย่างมีระบบ ซึ่งประกอบด้วยการกำหนดเป้าหมายและ ทิศทางขององค์กรและการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น ซึ่งจะต้องมีการวางแผน การจัดการ การกำหนดทิศทางและการควบคุมเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม
แนวคิดของระบบและการทำตัวแบบ
ระบบ (System) หมายถึงกลุ่มส่วนประกอบหรือระบบย่อยต่างๆที่มีการทำงานร่วมกัน เพื่อให้ ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยส่วนประกอบและความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประกอบต่างๆ ในระบบ จะเป็นตัวกำหนดว่าระบบจะสามารถทำงานได้อย่างไร เพื่อให้ผลลัพธ์ที่ได้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ โดยระบบแต่ละระบบถูกจำกัดด้วยขอบเขต (System Boundary) ซึ่งจะเป็นตัวแยกระบบนั้นๆ ออกจากสิ่งแวดล้อม
ประเภทของระบบ
1. ระบบอย่างง่าย(Simple) และระบบที่ซับซ้อน (Complex
2. ระบบเปิด(Open) และระบบปิด (Close)
3. ระบบคงที่ (Static) และระบบเคลื่อนไหว (Dynamic)
4. ระบบที่ปรับเปลี่ยนได้ (Adaptive) และระบบที่ปรับเปลี่ยนไม่ได้ (Nonadaptive)
5. ระบบถาวร (Permanent) และระบบชั่วคราว (Temporary)
ประสิทธิภาพของระบบ
ประสิทธิภาพของระบบสามารถวัดได้หลายทาง ได้แก่ ประสิทธิภาพ (Efficiency) คือการวัดสิ่งที่ถูกผลิตออกมา หารด้วยสิ่งที่ถูกใช้ไป สามารถแบ่งช่วงจาก 0 ถึง 100% ตัวอย่างเช่น ประสิทธิภาพของเครื่องมอเตอร์เครื่องหนึ่งคือพลังงานที่ผลิตออกมา (ในรูปของงานที่ทำเสร็จ) หารด้วยได้พลังงานที่ใช้ไป (ในรูปของไฟฟ้าหรือเชื้อเพลิง) เครื่องมอเตอร์บางเครื่องมีประสิทธิภาพ 50% หรือน้อยกว่า เนื่องจากพลังงานสูญเสียไปในการเสียดทาน และกำเนิดความร้อน ประสิทธิผล (Effectiveness) คือการวัดระดับการประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายของระบบ สามารถคำนวณได้ด้วยการ หารสิ่งที่ได้รับจากการประสบผลสำเร็จจริง ด้วยเป้าหมายรวม เช่น บริษัทหนึ่งมีเป้าหมายในการลดชิ้นส่วนที่เสียหาย 100 หน่วย เมื่อนำระบบการควบคุมใหม่มาใช้อาจจะช่วยให้บรรลุเป้าหมายนี้ได้ ถ้าระบบควบคุมใหม่นี้สามารถลดจำนวนชิ้นส่วนที่เสียหายได้เพียง 85 หน่วย ดังนั้นระดับของประสิทธิผลของระบบควบคุมนี้จะเท่ากับ 85%

บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ

บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ
บทที่ 1
เทคโนโลยีสารสนเทศ
การเปลี่ยนแปลงสังคมความเป็นอยู่ของมนุษย์เป็นไปอย่างรวดเร็ว กล่าวกันว่าได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในลักษณะ ที่เรียกว่า การปฏิวัติมาแล้วสองครั้ง ครั้งแรกเกิดจากการที่มนุษย์รู้จักใช้ระบบชลประทาน เพื่อการเพาะปลูกสังคมความเป็นอยู่ของมนุษย์จึงเปลี่ยนจากการเร่ร่อนมาเป็นการตั้งหลักแหล่ง เพื่อทำการเกษตร ต่อมาเมื่อประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 หลังจากที่เจมส์วัตต์ (James Watt ) ประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำมนุษย์รู้จักนำ เอาเครื่องจักรมาช่วยในอุตสาหกรรมการผลิต และช่วยในการสร้างยานพาหนะ เพื่องานคมนาคมขนส่ง ผลที่ตามมาทำให้เกิดการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม สังคมความเป็นอยู่ของมนุษย์จึงเปลี่ยนจากสังคมเกษตรมาเป็นสังคมเมือง
การปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคแรก เริ่มจากการใช้เครื่องจักรกลแทนการทำงานด้วยมือ พลังงานที่ใช้ขับเคลื่อนเครื่องจักรมาจากพลังงานน้ำพลังงานไอน้ำ และเปลี่ยนเป็นพลังงานจากน้ำมันมีการขับเคลื่อนเครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้า
การปฏิวัติอุตสาหกรรมได้เกิดขึ้นอีก โดยเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานจากการทีละขั้นตอนมาเป็นการทำงานระบบอัตโนมัติ การทำงานเหล่านี้อาศัยระบบควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น
มีผู้กล่าวว่าการปฏิวัติครั้งที่สามกำลังจะเกิดขึ้น โดยสิ่งที่เกิดใหม่นี้ ได้แก่ การพัฒนาทางด้านความคิด การตัดสินใจ โดยอาศัยหลักการของคอมพิวเตอร์ ในอนาคตกลุ่มคนเพียงกลุ่มเดียวอาจทำงานทั้งหมดโดยอาศัยระบบคอมพิวเตอร์ควบคุม ทำการควบคุมหุ่นยนต์คอมพิวเตอร์ และให้หุ่นยนต์ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรอีกต่อหนึ่ง ความเจริญก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมเกือบทุกแขนงมีคอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ ระบบการผลิต สวนใหญ่ต้องใช้คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์แทรกเข้ามาเกือบทุกกระบวนการ ตั้งแต่ การควบคุม การขนส่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต และการบรรจุหีบห่อ 
ในระดับประเทศประเทศไทยสั่งซื้อสินค้าเทคโนโลยีระดับ สูงเป็นปริมาณมาก ทำให้ต้องซื้อเทคนิควิธีการ ตลอดจนเครื่อง มือเครื่องจักรเข้ามาในปริมาณมากไปด้วย ขณะเดียวกันเรายัง ขาดบุคลากรที่จะพัฒนาเครื่องจักรเครื่องมือเหล่านั้น ให้มีประ สิทธิภาพ การสูญเสียเงินตราเนื่องจากสาเหตุนี้จึงเกิดขึ้นมิใช่น้อย หลายโรงงานยังไม่กล้าใช้เครื่องจักรที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ เพราะ หาบุคลากรใน การดำเนินการได้ยาก แต่ในระยะหลังค่าจ้างแรง งานสูงขึ้น และการแข่งขัน ทางธุรกิจมีมากขึ้น จึงตกอยู่ในสภาวะ จำยอมที่ต้องนำเครื่องมือเหล่านั้นเข้ามา เนื่องจากเครื่องมือดังกล่าว ให้ผลผลิตที่ดีกว่าของเดิมและทำให้ราคาต้นทุนการผลิตสินค้าต่ำ ลงอีกด้วย
ในยุควิกฤตการพลังงาน หลายประเทศพยายามลด การใช้พลังงาน โรงงานพยายามหาทางควบคุมการใช้ พลังงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อจะลดค่าใช้จ่ายลง จึงมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยควบคุม เช่น ควบคุมการเดิน เครื่องให้เหมาะสม ควบคุมปริมาณการเผาไหม้ของ เครื่องจักรในกระบวนการผลิต ควบคุมการจัดภาระงาน ให้เหมาะสม รวมถึงการควบคุมสิ่งแวดล้อมต่างๆ ด้วย
เมื่อคอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์มากขึ้น ได้มีการพัฒนางานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศขึ้น และในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์มากขึ้น สังเกตได้จากการนำคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาใช้ในสำนักงาน การจัดทำระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ การใช้อุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ แสดงว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการคำนวณและ เก็บข้อมูลได้ แพร่ไปทั่วทุกแห่ง เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญต่อการแข่งขันด้านธุรกิจและการขยายตัวของบริษัท ส่งผลต่อการให้บริการขององค์การและหน่วยงาน และมีผลต่อการประกอบกิจในแต่ละวัน
เทคโนโลยีสารสนเทศเริ่มใช้งานในประเทศไทย เมื่อไม่นานมานี้เอง โดยในปีพ.ศ. 2507 มีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก และในขณะนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศยังไม่แพร่หลายนัก จะมีเพียงการใช้โทรศัพท์เพื่อการติดต่อสื่อสารและนำคอมพิวเตอร์มาช่วยประมวลผลข้อมูล งานด้านสารสนเทศอื่น ๆ ส่วนใหญ่ยังคงเป็นงาน ภายในสำนักงานที่ยังไม่มีอุปกรณ์และเครื่องมือด้านเทคโนโลยีมาช่วยงานเท่าใดนัก
เมื่อมีการประดิษฐ์คิดค้นอุปกรณ์ช่วยงานสารสนเทศ เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร โทรสาร และไมโครคอมพิวเตอร์ อาชีพของประชากรก็ปรับเปลี่ยนมาสู่งานด้านสารสนเทศมากขึ้น สานักงานเป็นแหล่งที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากที่สุด เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ทำบัญชีเงินเดือนและบัญชีรายรับรายจ่าย การติดต่อสื่อสารภายในและภายนอกโดยโทรศัพท์และ โทรสาร การจัดเตรียมเอกสารด้วยการใช้เครื่องถ่ายเอกสารและคอมพิวเตอร์ ํ
งานด้านสารสนเทศมีแนวโน้มขยายตัวที่ค่อนข้างสดใส เพราะเทคโนโลยีด้านนี้ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนอย่างเต็มที่ มีการวิจัยและพัฒนาให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ ออกมาตอบสนองความต้องการของมนุษย์อยู่ตลอดเวลาเทคโนโลยีที่ใช้ในระบบสารสนเทศที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากในขณะนี้ คือ เทคโนโลยีสื่อประสม (multimedia) ซึ่งรวมข้อความ ภาพ เสียงและวิดีทัศน์เข้ามาผสมกัน เทคโนโลยีนี้กำลังได้รับการพัฒนา ในอนาคตเทคโนโลยีแบบสื่อประสม จะช่วยเสริมและสนับสนุนงานด้านสารสนเทศให้ก้าวหน้าต่อไป เป็นที่คาดหมายว่าอัตราการเติบโตของ ผู้ทำงานด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศจะมีมากขึ้น
แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศค่อยๆ กลายมาเป็นระบบรวม โดยให้คอมพิวเตอร์ระบบหนึ่งทำงานพร้อมกันได้หลายๆ อย่าง นอกจากใช้ประมวลผลข้อมูลด้านบัญชีแล้ว ยังใช้งานจัดเตรียมเอกสารแทนเครื่องพิมพ์ดีด ใช้รับส่งข้อความ หรือจดหมายกับคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกล ซึ่งอาจอยู่คนละซีกโลกในลักษณะที่เรียกว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ สำหรับเครื่องถ่ายเอกสาร นอกจากจะใช้ถ่ายสำเนาเอกสารตามปกติแล้ว อาจเพิ่มขีด ความสามารถให้ใช้งานเป็นเครื่องพิมพ์ หรือรับส่งโทรสารได้อีกด้วย
การพัฒนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านฮาร์ดแวร์ (hardware) ซอฟต์แวร์ (software) ด้านข้อมูลและการติดต่อสื่อสาร ผู้ใช้จึงต้องปรับตัวยอมรับและเรียนรู้ เทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ โดยเฉพาะข้อมูลและ การติดต่อสื่อสาร (communication) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของ การดำเนินธุรกิจ หากการดำเนินงานธุรกิจใช้ข้อมูลซึ่งมีการบันทึกใส่กระดาษและเก็บรวบรวมใส่ แฟ้มการเรียกค้นและสรุปผลข้อมูลย่อมทำได้ช้า และเกิดความผิดพลาดได้ง่ายกว่า การประมวล ผลข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยให้ทำงานได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว และถูกต้องขึ้น และที่สำคัญช่วยให้สามารถตัดสินใจดำเนินงานได้เร็ว