สรุปบทที่ 5
ปัจจุบัน ข่าวสารและข้อมูลนับว่าเป็นทรัพยากรสำคัญที่ถูกนำมาช่วยสนับสนุนผู้บริหารใน การบริหารและการตัดสินใจแก้ปัญหาต่างๆ ของธรกิจ การได้รับข่าวสารและข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำในเวลาที่ต้องการ จะช่วยให้บริหารสามารถตัดสินใจได้อย่างเหมาะสมและทันต่อสถานการณ์ ในทางตรงกันข้าม ข้อมูลที่ผิดพลาดหรือไม่สมบูรณ์ย่อมก่อให้เกิดผลเสียต่อการดำเนินงานของ องค์การได้ ประการสำคัญ การที่ธุรกิจจะสามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่มิได้ขึ้นอยู่กับการ ที่หน่วยงานมีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย มีราคาแพง และมีชุดคำสั่งที่มีประสิทธิภาพเท่านั้น ความสามารถในการจัดเก็บ การจัดลำดับ และการจัดการข้อมูล นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด ในแต่ละสถานการณ์
เราจะแบ่งการจัดเก็บข้อมูลออกเป็น 2 แบบคือ
1.การจัดแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ
2.การจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม
ซึ่ง แต่ละแบบจะมีข้อดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้ใช้ต้องตัดสินใจเลือกแบบที่สอดคล้องกับความต้องการของงาน และปัจจัยสนับสนุนของธุรกิจ
ฐานข้อมูล (Database) หมาย ถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีแบบแผน ณ ที่ใดที่หนึ่งในองค์การ เพื่อที่ผู้ใช้จะสามารถนำข้อมูลมาประมวลผล และประยุกต์ใช้งานตามที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปกตินักวิชาการจะแบ่งโครงสร้างข้อมูลออกเป็น 2 ลักษณะ คือ โครงสร้างเชิงกายภาพและโครงสร้างเชิงตรรกะ แต่เราจะให้ความสนใจกับโครงสร้างเชิงตรรกะซึ่งสามารถแยกอธิบายแบบจำลองออกเป็น 3 ประเภทคือ
1.แบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงลำดับขั้น
2.แบบจำลองการจัดข้อมูลแบบเครือข่าย
3.แบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงสัมพันธ์
ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management Systems DBMS) หมาย ถึงชุดคำสั่งซึ่งทำหน้าที่สร้าง ควบคุม และดูแลระบบฐานข้อมูล เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูล คัดเลือกข้อมูล และสามารถนำข้อมูลนั้นมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่ DBMS จะทำหน้าที่เสมือนตัวกลางระหว่างชุดคำสั่งสำหรับการใช้งานต่างๆ กับหน่วยเก็บข้อมูล ซึ่ง DBMS ประกอบด้วยส่วนประกอบหลักที่สำคัญอยู่ 3 ส่วนคือ ภาษาสำหรับนิยมข้อมูลหรือ DDL ภาษาสำหรับการใช้ข้อมูลหรือ DML และพจนานุกรมข้อมูล
การบริหารฐานข้อมูลจะ ครอบคลุมไปถึงเทคนิคการปฏิบัติในการจัดการฐานข้อมูลทั้งเชิงตรรกะและเชิง กายภาพ ตลอดจนการออกแบบ การปรับปรุง การใช้งาน และดูแลระบบฐานข้อมูลให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยบุคคลที่ทำหน้าที่บริหารฐานข้อมูลจะถูกเรียกว่า ผู้บริหารฐานข้อมูล หรือ DBA
ระบบฐานข้อมูลแบบกระจาย หมายถึงระบบฐานข้อมูลที่เก็บข้อมูลไว้ในที่ต่างๆ มากกว่า 1 แห่ง โดยข้อมูลส่วนหนึ่งจะถูกเก็บไว้ในสถานที่หนึ่ง ขณะที่ข้อมูลส่วนหนึ่งเหลืออาจจะถูกเก็บรวมไว้ในอีกที่หนึ่งหรือถูกแยกเก็บ ไว้ในที่ต่างๆ โดยที่ข้อมูลเหล่านี้สามารถถูกเรียกมาประมวลผลและใช้งานได้เช่นเดียวกับการ เก็บข้อมูลไว้ ณ ที่แห่งเดียว การเก็บข้อมูลแบบนี้มีได้ 2 ลักษณะ คือ ระบบฐานข้อมูลกระจายแบบมีดัชนีรวม และระบบฐานข้อมูลกระจายแบบถามเครือข่ายและเป็นที่คาดกันว่า ผลกระทบของเทคโนโลยีก้าวหน้าและโครงสร้างการทำงานของแต่ละองค์การที่เปลี่ยน ไปในอนาคต จะมีส่วนทำให้เกิดการตื่นตัวในการนำระบบฐานข้อมูลแบบกระจายมาใช้ประโยชน์ เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ระบบฐานข้อมูลแบบมุ่งเป้าหมาย ระบบฐานข้อมูลแบบหลายสื่อคลังข้อมูล และกระทำเหมืองข้อมูล ยังได้รับการคาดหวังว่า จะเป็นเทคโนโลยีฐานข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับอนาคตอีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น